พื้นไม้เทียม มีข้อดีข้อ เสียอย่างไร เมื่อเทียบกับไม้จริง

ในปัจจุบันการใช้ พื้นไม้เทียม หรือการใช้ไม้เทียมเป็นวัสดุสร้างบ้านถือเป็นทางเลือกของหลาย ๆ คนเพราะมีคุณสมบัติ และบรรยากาศของความเป็นธรรมชาติได้ดีใกล้เคียงกับไม้จริง และสามารถใช้งานได้แทบจะไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าเพราะไม้จริงหลาย ๆ ประเภทหายากจึงมีราคาที่สูง

โดยไม้เทียมถูกผลิตมาจากวัสดุสังเคราะห์ มีการนำเอาวัสดุอื่นมาผสมกับไม้ และสารเคมีบางชนิดทำให้คุณสมบัติ และสามารถใช้งานได้เหมือนหรือใกล้เคียงกับไม้จริงโดยในประเทศไทยหลัก ๆ แบ่งไม้เทียมออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

ชนิดของ พื้นไม้เทียม

  1. ไม้เทียม ประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement)

ไม้เทียมชนิดนี้วัสดุที่ผลิตมาจากเส้นใยเซลลูโลสรวมกับ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และซิลิก้า แล้วนำมาผ่านกระบวนการบีบอัดขึ้นรูปในแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน เช่น ไม้พื้นไม้ระแนง และไม้บัว เป็นต้น

  1. ไม้เทียม ประเภท Wood Plastic Composite หรือ WPC

เป็นไม้เทียมที่ผลิตโดยนำพลาสติกมาผสมกับวัสดุไม้จริง จึงทำให้มีคุณสมบัติที่ได้มีทั้งเหมือนไม้จริง และพลาสติก ส่วนจะโน้มเอียงหนักไปทางไหนก็ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าจะใช้สัดส่วนของไม้จริงเท่าไหร่ ให้พลาสติดเท่าไหร่

เปรียบเทียบพื้นไม้เทียม กับพื้นไม้จริง

ไม้เทียม

ข้อดี – ติดตั้งง่ายรวดเร็ว ใช้งานได้ทันที การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก มีรูปแบบให้เลือกเยอะ สามารถจัดตกแต่งในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลากหลาย

ข้อเสีย – ลวดลายบนแผ่นไม้ดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติมากนัก การซ่อมแซมต้องใช้การทาสีใหม่ มีขนาด ความกว้าง ความยาวจำกัด

ไม้จริง

ข้อดี – ไม้จริงแต่ละแผ่นจะแตกต่างตามชนิด และอายุของไม้ ทำให้มีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน มีความสวยงามสีสันตามธรรมชาติ การใช้งานสามารถนำไปเคลือบผิวได้ตามต้องการ เช่น ผิวเรียบหรือผิวหยาบ โชว์เสี้ยนไม้ การทาสีย้อมไม้ ถึงแม้เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการซีดจางลงแต่ก็ยังสวยกว่าไม้เทียม

ข้อเสีย – อย่างแรกเลยคือเรื่องราคาที่สูง หากใช้งานหนักอาจทำให้พื้นผิวเสียหายอายุการใช้งานก็จะสั้นลง หากไม่ดูแลรักษาเคลือบน้ำยารักษาเนื้อไม้เป็นประจำในระยะยาวซีก็จะซีดจางลง รวมไปถึงต้องระวังเรื่องปลวกอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า พื้นไม้เทียม สามารถนำมาใช้แทนไม้จริงได้ถึงแม้คุณสมบัติบางอย่างจะด้อยกว่า แต่ในบางอย่างนั้นก็มีความโดดเด่นกว่า อย่างไรก็ตามทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้แบบไหนถึงจะเหมาะสมกับบ้าน เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์ให้มากที่สุด